เรซูเม่ (Resume/Résumé) คืออะไร?
เรซูเม่ (Resume/Résumé) คือ ประวัติโดยย่อของบุคคล สำหรับใช้สมัครงาน ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลสำคัญของผู้สมัคร เช่น ชื่อ-นามสกุล ประวัติการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับงาน ฯลฯ มีความยาวประมาณ 1-2 หน้ากระดาษ A4
Resume ต่างกับ CV อย่างไร?
CV ย่อมาจาก Curriculum Vitae มีลักษณะคล้ายเรซูเม่ แต่จะมีข้อมูลที่ละเอียดกว่า อาจยาวถึง 2-3 หน้ากระดาษ A4 และมักใช้สำหรับการสมัครเรียนต่อ หรืองานที่เกี่ยวกับการศึกษามากกว่า
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยและยุโรป ทั้ง 2 คำนี้ใช้ในความหมายเดียวกัน แต่ในสหรัฐอเมริกาจะแยกออกจากกันอย่างที่อธิบายไว้ตอนต้น
วิธีทำเรซูเม่แบบสรุป
ข้อมูลในเรซูเม่ควรประกอบด้วย 9 ข้อ ดังนี้
- ชื่อ นามสกุล (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
- ตำแหน่งงานที่สมัคร
- ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ (ควรตั้งชื่ออีเมลเป็นทางการ)
- ประวัติการทำงาน / กิจกรรมสมัยเรียนที่เคยทำ (เลือกเฉพาะที่เกี่ยวข้อง เรียงจากล่าสุด-เก่า)
- ประวัติการศึกษา (เริ่มด้วยระดับสูงสุดก่อน)
- ทักษะที่เกี่ยวข้องกับงาน
- ระดับความสามารถทางภาษา
- ประวัติการเข้าร่วมอบรม รางวัล และ Certificate ต่างๆ (ถ้ามี)
- ข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถใส่เพิ่มได้
- รูปถ่ายสุภาพ
- น้ำหนักและส่วนสูง
- วัน เดือน ปีเกิด
- เงินเดือนที่ต้องการ
วิธีทำเรซูเม่แบบละเอียด
1. เลือกเว็บทำเรซูเม่
เราสามารถทำเรซูเม่ใน Microsoft Word ได้ แต่วิธีทำเรซูเม่ที่ง่ายที่สุด คือการทำออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
เว็บไซต์เหล่านี้จะมีรูปแบบเรซูเม่ให้เลือกมากมาย และสามารถปรับแต่งสี ฟอนต์ และรูปภาพได้ค่อนข้างง่ายและอิสระ
5 เว็บไซต์ทำเรซูเม่ที่นิยม
- canva.com
- zety.com
- resume.io
- resumebuild.com
- novoresume.com
2. เลือกรูปแบบที่เหมาะสม
ควรเลือกรูปแบบที่เหมาะกับทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ และตำแหน่งงานของเรา และสิ่งที่ห้ามมองข้ามเลยก็คือ “ดีไซน์” เพราะหากคุณกำลังมองหางานที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ แต่เลือกดีไซน์ทางการเกินไป ก็อาจทำให้ดูไม่ปัง
ในทางกลับกัน หากสมัครสายงานที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูง แต่เรซูเม่มีลูกเล่นเยอะ หรือเลือกรูปถ่ายที่ใส่ชุดนักศึกษาหรือชุดครุย ก็อาจถูกมองว่าไม่เป็นมืออาชีพได้
รูปแบบเรซูเม่ที่นิยมมี 3 รูปแบบ ได้แก่
1. เรียงประวัติการทำงานตามเวลา (Chronical Resume)
เรียงประวัติการทำงานตามเวลา โดยเริ่มจากงานล่าสุดก่อน และเน้นการใส่ระยะเวลาการทำงานในแต่ละที่ แต่ละตำแหน่ง เพื่อเน้นย้ำให้เห็นพัฒนาการด้านการทำงานของผู้สมัคร
ผู้สมัครที่เหมาะกับเรซูเม่แบบนี้
ผู้สมัครที่ไม่เหมาะกับเรซูเม่แบบนี้
เคล็ดลับ
หากมีการเลื่อนตำแหน่งในที่ทำงานเดิม ควรแยกประสบการณ์ทำงานออกจากกัน เพื่อแสดงให้เห็นทักษะและความรับผิดชอบที่สูงขึ้น
2. เน้นความสามารถในการทำงาน (Functional Resume)
รูปแบบนี้จะลดความสำคัญของอายุงานลง แต่จะไปเน้นแสดงทักษะที่โดดเด่นและหลากหลายของผู้สมัครแทน
อย่างไรก็ตาม ในการสัมภาษณ์งาน ก็อาจมีคำถามเรื่องอายุงาน การเปลี่ยนงานบ่อย หรือการที่เราทำงานไม่ต่อเนื่องอยู่ดี จึงควรเตรียมคำตอบที่สมเหตุสมผลสำหรับคำถามเหล่านี้ไปด้วย
ผู้สมัครที่เหมาะกับเรซูเม่แบบนี้
ผู้สมัครที่ไม่เหมาะกับเรซูเม่แบบนี้
3. ผสมกันทั้งสองแบบ (Combination Resume)
รูปแบบนี้จะรวมข้อมูลของทั้งสองแบบด้านบนไว้ทั้งหมด แต่มีข้อควรระวังคือ อาจทำให้เรซูเม่ของคุณยาวเกินไป จนไม่น่าอ่าน หรือมีข้อมูลมากเกินจำเป็น
ผู้สมัครที่เหมาะกับเรซูเม่แบบนี้
ผู้สมัครที่ไม่เหมาะกับเรซูเม่แบบนี้
3. ใส่ข้อมูลสำคัญให้ครบถ้วน
ข้อมูลในเรซูเม่สำหรับงานตำแหน่งสูง และงานที่ต้องใช้ภาษาควรใส่ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่ต้องใช้) เพื่อแสดงความเป็นมืออาชีพและความสามารถด้านภาษา
ข้อมูลที่จำเป็นต้องมีในเรซูเม่ ได้แก่
- ชื่อ นามสกุล
- ชื่อ นามสกุล: ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แม้เป็นเรซูเม่ภาษาอังกฤษ ก็ควรมีชื่อไทยกำกับไว้ด้วย
- ตำแหน่งงานที่สมัคร
- ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์
- อีเมล: ควรใช้ชื่อทางการ โดยทั่วไปมักเป็น ชื่อและอักษรย่อของนามสกุล เช่น somchai.d@email.com
- ประวัติการทำงาน / กิจกรรมสมัยเรียนที่เคยทำ
- ประวัติการทำงาน: ควรเริ่มจากตำแหน่งงานล่าสุดก่อน
- ช่วงเวลาที่ทำงาน: ไม่จำเป็นต้องละเอียดขนาดใส่วันที่ แค่เดือนและปี ก็พอแล้ว
- กิจกรรมสมัยเรียน: ควรเลือกใส่เฉพาะกิจกรรมที่ใช้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับงาน เช่น การประสานงาน การออกแบบ การบริหารจัดการ ฯลฯ
- ประวัติการศึกษา
- สำหรับงานแรก ควรใส่สาขาวิชาที่เรียนและเกรดเฉลี่ยระดับมัธยมปลายและอุดมศึกษา
- แต่สำหรับงานที่ 2 และต่อๆ ไป ใส่แค่ระดับอุดมศึกษาก็พอแล้ว
- ทักษะที่เกี่ยวข้องกับงาน
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์: จำเป็นอย่างมากสำหรับงานออฟฟิศ โดยเฉพาะโปรแกรมสำนักงานอย่าง Word Excel PowerPoint ฯลฯ
- การใช้เครื่องจักร เครื่องมือ การขับขี่รถยนต์ ฯลฯ
- ระดับความสามารถทางภาษา
- โดยปกติจะเป็น 3 ระดับ คือ ดีมาก (Excellent) ดี (Good) พอใช้ (Fair)
- หากเป็นงานที่ต้องนำเสนอและติดต่อประสานงาน สามารถเน้นบางทักษะเป็นพิเศษได้ เช่น การพูดและการเขียน ฯลฯ
- ประวัติการเข้าร่วมอบรม และ Certificate ต่างๆ (ถ้ามี)
- ควรเลือกใส่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน หรือเป็นทักษะที่นำมาปรับใช้ได้
- ข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถใส่เพิ่มได้
- รูปถ่ายสุภาพ: ควรหลีกเลี่ยงรูปที่ใส่ชุดนักศึกษาหรือชุดครุย เพราะอาจถูกมองว่าไม่เป็นมืออาชีพ
- น้ำหนักและส่วนสูง (สำหรับบางตำแหน่งงาน)
- วัน เดือน ปีเกิด
- เงินเดือนที่ต้องการ
เคล็ดลับ
หากไม่มีข้อกำหนดจากบริษัทที่รับสมัคร ข้อมูลบางอย่างก็ไม่สมควรใส่ในเรซูเม่ เพราะอาจทำให้เกิดอคติในการคัดเลือกผู้สมัครได้ เช่น รูปถ่าย น้ำหนัก ส่วนสูง ฯลฯ
4. เขียนเรซูเม่อย่างมืออาชีพ
- ความยาว
- ต้องสั้น กระชับ ไม่ควรเกิน 2 หน้า แต่ถ้าจะให้ดี 1 หน้าก็พอแล้ว
- ฟอนต์
- เลือกฟอนต์ที่อ่านง่าย สบายตา มีระดับความเป็นทางการเหมาะสมกับสายงาน
- ภาษา
- ใช้ภาษาที่กระชับ ชัดเจน
- แบ่งเนื้อหาเป็นข้อๆ ไม่ควรเขียนยาวเป็นพรืด
- ใช้คำศัพท์ทางเทคนิคในสายงานนั้นๆ เพื่อแสดงความเชี่ยวชาญ
- ใช้คำที่มีความหมายในแง่บวก แสดงภาพการทำงานที่มุ่งมั่น และเป็นผลดีต่อธุรกิจ รวมถึงการใช้ข้อมูลที่วัดผลได้มายืนยันความสำเร็จ เช่น
- สามารถสร้างยอดขายได้มากกว่าเป้าหมาย 30%
- วิจัยและสร้างกลยุทธ์สำหรับการทำการตลาดอย่างครบวงจร
- เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้ถึง 200%
5. โพสต์เรซูเม่ในเว็บสมัครงาน/ส่งเรซูเม่ทางอีเมล
ก่อนการโพสต์หรือส่งเรซูเม่ทุกครั้ง ควรตรวจทานความถูกต้องก่อนเสมอ เพราะหากมีคำผิดก็อาจทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพ ส่วนชื่อตำแหน่งงาน ก็ควรเขียนให้เหมือนกับที่บริษัทรับสมัครด้วย
ข้อมูลต่างๆ ก็ควรปรับให้เข้ากับตำแหน่งงานและความต้องการของแต่ละบริษัท ไม่ควรทำเรซูเม่เวอร์ชั่นเดียว แล้วส่งหว่านไปทุกบริษัท
การโพสต์เรซูเม่ในเว็บสมัครงาน
เรซูเม่ พอร์ตโฟลิโอ และไฟล์ใดๆ ก็ตาม ควรเซฟไฟล์เป็น .pdf เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นแก้ไขได้ง่ายๆ และป้องกันปัญหาฟอนต์เด้งด้วย
การส่งเรซูเม่ทางอีเมล
ควรมี Cover Letter (จดหมายนำ) แนบไปด้วยเพื่อแสดงความตั้งใจ และแนะนำตัวเบื้องต้น หรืออย่างน้อยก็ควรเขียนแนะนำตัวในอีเมลอย่างเป็นทางการ 1-2 ย่อหน้า ไม่ควรเขียนห้วนๆ หรือใช้ภาษาไม่ทางการ
วิธีทำ Portfolio สมัครงาน ให้ได้ใจหัวหน้า ถูกใจ HR
วิธีเขียนเรซูเม่ (Resume) ให้โดดเด่น น่าสนใจ ได้งานชัวร์
Cover letter คืออะไร วิธีเขียนให้น่าสนใจ พร้อมตัวอย่างไทย-อังกฤษ
12 คำถามสัมภาษณ์งานที่ต้องตอบให้ได้ ถ้าอยากได้งานในฝัน
แต่งตัวไปสัมภาษณ์งานยังไง ประทับใจเจ้านาย + ตัวอย่างชุด
วิธีหางานให้ได้งาน รวดเร็ว ตรงใจ ใน 9 ขั้นตอน
สรุป
เรซูเม่ไม่ใช่แค่ประวัติส่วนตัว แต่เปรียบเสมือนโบรชัวร์โฆษณา เราจึงต้องทำกระดาษแผ่นนี้ให้ดูน่าสนใจที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ ดีไซน์ การใช้ภาษา ฯลฯ เพื่อ “ขาย” ตัวเราให้ฝ่าย HR “ซื้อ” ให้ได้
อ้างอิงข้อมูลจาก
resumegenius.com
myfuture.com
tds.tu.ac.th